ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เป็นบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร ดำเนินธุรกิจด้านธนาคารและการเงิน โดยมีสาขาทั่วโลก มากกว่า 70 ประเทศ โดยปัจจุบันธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) (Standard Chartered Bank Thailand) ให้บริการเฉพาะลูกค้าองค์กร ลูกค้าสถาบัน และลูกค้าองค์กรระหว่างประเทศเท่านั้น.
ประวัติความเป็นมา และ พัฒนาการของธนาคาร
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เป็นบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร ดำเนินธุรกิจด้านธนาคารและการเงิน โดยมีสาขาทั่วโลก มากกว่า 70 ประเทศ และ ปัจจุบันมีพนักงานมากถึง 87,000 คนทั่วโลก
ธนาคารสแตนดาร์ดชาเตอร์ด ได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2476 โดยชื่อเดิมใช้ชื่อว่า “ ธนาคารนครธน” และธนาคารฯ ได้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2526 ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2542 ธนาคารสแตนดาร์ดชาเตอร์ด ได้เข้ามาถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 75 และ เข้าบริหารจัดการอย่างเต็มรูปแบบในธนาคารนครธน รวมทั้งได้เปลี่ยนชื่อธนาคารนครธน เป็น “ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) และได้ขอเพิกถอนการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อตุลาคม พ.ศ. 2550.
ปีที่ก่อตั้ง
กลุ่มธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2512 จาการควบรวมกิจการของธนาคารสแตนดาร์ด แห่งบริติชเซ้าท์ แอฟริกา ที่ก่อตั้งในปี 2402 และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน ที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2386 ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (SCB) เริ่มกิจการธนาคารครั้งแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2437 หรือ ประมาณ 118 ปีที่แล้ว และนับเป็นหนึ่งในบรรดาสาขาธนาคารต่างประเทศรุ่นแรก ๆ ที่เปิดดำเนินการในประเทศไทย.
ผู้ก่อตั้ง
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ก่อตั้งขึ้นโดย “กลุ่มธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด” ที่ตัดสินใจขยายฐานประกอบการในประเทศไทย โดยการเข้าซื้อหุ้นในธนาคารนครธน ในสัดส่วนร้อยละ 75 และควบรวมกิจการ เป็น “ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย) จำกัด (มหาชน) (Standard Chartered Bank Thailand) .
พัฒนาการของธนาคาร
- ปี พ.ศ. 2512 เกิดการควบรวมกิจการธนาคารสแตนดาร์ด แห่งบริติชเซ้าท์ แอฟริกา กับ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน เข้าด้วยกันเป็น “กลุ่มธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์”.
- ปี พ.ศ. 2437 ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (SCB) เริ่มกิจการธนาคารครั้งแรกในประเทศไทย.
- ปี พ.ศ. 2542 กลุ่มธนาคารสแตนดาร์ชาร์เตอร์ด เข้าซื้อหุ้นในธนาคารนครธน ในสัดส่วนร้อยละ 75 และเปลี่ยนชื่อเป็น “ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน ”.
- ปี พ.ศ. 2548 เข้าซื้อหุ้นในสัดส่วนที่เหลือของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน และควบรวมกิจการของ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) กับ SCB สาขากรุงเทพฯ เข้าด้วยกัน และเปลี่ยนชื่อเป็น “ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย) จำกัด (มหาชน)” .
- ปี พ.ศ. 2550 ขอเพิกถอนการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
- ปัจจุบันธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) (Standard Chartered Bank Thailand) ได้บรรลุข้อตกลงในการถ่ายโอนธุรกิจลุกค้ารายย่อย ของธนาคารฯซึ่งประกอบด้วยธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรายย่อย สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย บริการ Wealth Management ธุรกิจนายหน้าประกันภัย และ เงินฝากสำหรับลูกค้ารายย่อย ให้แก่ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2560.
- ปี พ.ศ. 2561 ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ยุติการดำเนินธุรกิจลูกค้ารายย่อยในประเทศไทย.
รายชื่อคณะกรรการธนาคาร
-
คณะผู้บริหาร
- คุณพลากร หวั่งหลี ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
- คุณอัญชลี บุญทรงษีกุล ตำแหน่ง หัวหน้าสายงานกลุ่มลูกค้าองค์กรและลูกค้าสถาบัน
- คุณเกตุรัตน์ วิริยะประไพกิจ ตำแหน่ง หัวหน้าสายงานตลาดเงินและตลาดทุน และหัวหน้าส่วนงานดูแลลูกค้าผลิตภัณฑ์ตลาดเงินและตลาดทุน
- คุณนิธิพงศ์ เตชะวณิช ตำแหน่ง หัวหน้าสายงานเทคโนโลยีและปฏิบัติการและหัวหน้าฝ่ายลูกค้าบริษัทในเครือทั่วโลก
- คุณชินานาฏ ชิตวรากร ตำแหน่ง หัวหน้าสายงานบริหารธุรกรรมทางการเงิน และ หัวหน้าสายงานระดับภูมิภาคด้านเอกสารการค้าระหว่างประเทศ
- คุณต๊ก ฉิง โต๊ะ ตำแหน่ง หัวหน้าสายงานการเงินและการบัญชี
- คุณเก๊ก เอียน ออง ตำแหน่ง หัวหน้าสายงานบริหารความเสี่ยง
- คุณรพีพร แกล้วทนงค์ ตำแหน่ง หัวหน้าสายงานทรัพยากรมนุษย์
- คุณโชติอาภา ส่วนพงษ์ ตำแหน่ง หัวหน้าสายงานกำกับดุแลการปฏิบัติงาน
- คุณเอ็ดมาร์ กัง อัลลีค ตำแหน่ง หัวหน้าสายงานตรวจสอบภายใน
- คุณไกรทส เปลี่ยนบางช้าง ตำแหน่ง หัวหน้าสายงานกฎหมาย
- คุณวรนันท์ ฉกามานนท์ ตำแหน่ง หัวหน้าสายงานองค์กรสัมพันธ์ และ บริหารภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ และการตลาด
-
คณะกรรมการ
- คุณไฮดี้ โทริบิโอ ตำแหน่ง ประธานกรรมการ
- คุณประเวช องอาจสิทธิกุล ตำแหน่ง กรรมการอิสระ ประธานกรรมการการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
- ศาสตราจารย์ ดร. วรภัทร โตธนะเกษม ตำแหน่ง กรรมการอิสระ ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรรมการตรวจสอบ
- คุณฤชุกร สิริโยธิน ตำแหน่ง กรรมการอิสระ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรรมการตรวจสอบ
- คุณพลากร หวั่งหลี ตำแหน่ง กรรมการที่เป็นผู้บริหาร กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
- คุณเก๊ก เอียน ออง ตำแหน่ง กรรมการที่เป็นผู้บริหาร หัวหน้าสายงานบริหารความเสี่ยง
- คุณต๊ก ฉิง โต๊ะ ตำแหน่ง กรรมการที่เป็นผู้บริหาร หัวหน้าสายงานการเงินและการบัญชี
รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่
ปัจจุบัน ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่ประเทศอังกฤษ ถือหุ้นธนาคารสแตนดาร์ดาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) 99.83% ของหุ้นสามัญ และ ส่วนที่เหลืออีก 0.17% เป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย
เนื่องจากธนาคารไม่มีความประสงค์ที่จะระดมทุนเพิ่มเติมผ่านตลากหลักทรัพย์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย คณะกรรมการธนาคารฯ จึงตัดสินใจที่จะดำเนินการขอถอนหุ้นจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
จำนวนสาขาของธนาคาร
ธนาคารสแตนดาร์ดาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) (Standard Chartered Bank Thailand) มีสาขาให้บริการ คือ สำนักงานใหญ่ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) เท่านั้นไม่มีสาขาอื่น ๆ ในประเทศไทยให้บริการ.
ความน่าเชื่อถือของธนาคาร
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2437 และมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยเป็นส่วนสำคัญในยุทธศาสตร์ภูมิภาคของกลุ่มธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด นอกจากนั้นธนาคารยังมีข้อได้เปรียบอยู่ที่ความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับลูกค้าชาวไทย เครือข่ายทั่วโลก แข็งแกร่ง ครอบคลุมกว่า 70 ประเทศทั่วโลก และยังเป็นธนาคารระดับนานาชาติแห่งเดียวที่ดำเนินธุรกิจครบทั้ง 10 ประเทศอาเซียน ที่เพียบพร้อมด้วยนวัตกรรมทางการเงินและบริการ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้สามารถโอกาสทางธุรกิจในประเทศไทย และภูมิภาคได้อย่างยั่งยืน.
โดยปัจจุบันธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) (Standard Chartered Bank Thailand) ให้บริการเฉพาะลูกค้าองค์กร ลูกค้าสถาบัน และลูกค้าองค์กรระหว่างประเทศเท่านั้น โดยให้บริการฝาก-ถอนเงินสด การนำฝากเช็ค การโอนเงิน การออกแคชเชียร์เช็ค การออกหนังสือค้ำประกัน สินเชื่อธุรกิจ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
- ธุรกรรมด้านการธนาคารพาณิชย์ (Transaction Banking and Lending Products)
-
- บริการบริหารจัดการการเงิน (Cash Management)
- ธุรกรรมด้านสินเชื่อ (Lending)
- ธุรกรรมด้านการบริหารเงินและตลาดทุน (Financial Markets Products)
-
- ธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange)
- ธุรกรรมกที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย (Interest Rates)
- ธุรกรรมในตลาดตราสารอนุพันธ์ประเภทสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity Derivatives)
- ธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit Derivatives)
- ธุรกรรมกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง (Structure Products)
- ธุรกรรมในตลาดตราสารหนี้ (Debt Capital Market)
- บริการด้านหลักทรัพย์-การรับฝากและดูแลหลักทรัพย์ (Securities Services : Custody and Fund Services)
- ธุรกรรมธุรกิจการเงิน (Corporate Finance)
SWIFT Code
SWIFTCODE : SCBLTHBX
ชื่อภาษาอังกฤษ : STANDARD CHARTERED BANK (THAI) PCL
ที่อยู่สำนักงานใหญ่
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ดำเนินธุรกิจธนาคารใน 53 แห่งทั่วโลก เอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกา โดยมีสำนักงานใหญ่ระดับโลกอยู่ที่ ลอนดอน สหราชอาณาจักร.
-
สำนักงานใหญ่ระดับ Global HQ
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สหราชอาณาจักร ลอนดอน เป็นสำนักงานใหญ่และศูนย์กลางสำคัญของธุรกิจ ที่ใช้จัดการและดำเนินระหว่างประเทศที่นี่
Standard Chartered Bank
1 Basinghall Avenue
London
EC2V 5DD
+44 (0) 20 7885 8888
-
สำนักงานใหญ่ ประจำประเทศไทย
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 140 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ (Tel.) +66 2106 1000 โทรสาร (Fax.) +66 2106 1111
ช่องทางการติดต่อ
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) (Standard Chartered Bank Thailand)
สำนักงานใหญ่ประเทศไทย เปิดให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30-17.30 น.
อีเมล : Straight2Bank.th@sc.com
เบอร์โทรศัพท์ : Call Center 1553 หรือ (Tel.) +66 2106 1000
บัตรต่าง ๆ ของธนาคาร
ปัจจุบันธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ไม่ได้มีผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้ารายย่อยแล้ว เนื่องจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ได้โอนธุรกิจลูกค้ารายย่อยให้แก่ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 โดยธุรกิจที่อยู่ภายใต้การจัดการของธนาคารทิสโก้ ประกอบด้วยธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อธุรกิจรายย่อย สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย บริการWealth Management ธุรกิจนายหน้าประกันภัย และเงินฝากสำหรับบุคคลรายย่อย และได้ยุติการดำเนินธุรกิจลุกค้ารายย่อยในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561
ในขณะที่ลูกค้าธุรกิจองค์กร และ สถาบันธนกิจ (Corporate & Institutional Banking) และธุรกิจพาณิชย์ (Commercial Banking) สามารถใช้บริการและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ตามปกติ เช่นเดิมที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) (Standard Chartered Bank Thailand) เท่านั้น โดยทางธนาคารฯไม่มีสาขาอื่น ๆ ในบริการในประเทศไทย.
-
ข้อดี ข้อเสีย และปัญหาจากผู้ใช้บริการ
ข้อดี
- เป็นธนาคารระดับนานาชาติที่มีเครือข่ายความแข็งแกร่ง มั่นคง สามารถให้การสนับสนุนทางการเงินให้กับธุรกิจที่ต้องการขยายการลงทุนระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
ข้อเสีย
- มีการแอบอ้างนำตราสัญลักษณ์ของธนาคารไปใช้ติดตามทวงหนี้กับอดีตลูกค้ารายย่อยของธนาคารผ่านแอปพลิเคชันไลน์ เนื่องจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ยุติการดำเนินการธุรกิจลูกค้ารายย่อยในประเทศไทยไปแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ลูกค้าจึงไม่ควรเปิดเผยข้อมูลหรือทำธุรกรรมใด ๆ และติดต่อบริษัทบริหารสินทรัพย์โดยตรงตามที่อยู่ทางการของบริษัทเท่านั้น.
- ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ถึงแม้จะมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด แต่ก็มีความเสี่ยงที่ข้อมูลจะถูกแฮกได้ตลอดเวลา หากเกิดขึ้นอาจเกิดความสูญเสียทั้งตัวเงินและข้อมูลส่วนตัวได้.
ความโดดเด่น และ บริการที่น่าสนใจ
แม้ว่าธนาคารได้ยุติการดำเนินการธุรกิจลูกค้ารายย่อย และได้ทำการโอนลูกค้ารายย่อยของธนาคารให้กับธนาคารทิสโก้ จำกัด การโอนถ่ายจะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อกลุ่มลูกค้าองค์กร และสถาบันธนกิจ และธุรกิจพาณิชย์ โดยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ยังมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีการมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการให้บริการและการสนับสนุนลูกค้า 3 กลุ่มหลักของธนาคาร คือ ลูกค้าองค์กร ลูกค้าสถาบัน ลูกค้าองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งยุทธศาสตร์หลักของธนาคารฯ คือ การมุ่งเน้นไปในธุรกิจ ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าได้อย่างแท้จริง ข้อได้เปรียบของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คือมีเครือข่ายที่แข็งแกร่งทั่วโลก ด้วยฐานการดำเนินธุรกิจที่ครอบคลุมกว่า 70 ประเทศทั่วทั้งเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดยังเป็นธนาคารระดับนานาชาติแห่งเดียวที่ดำเนินธุรกิจครบทั้งใน 10 ประเทศอาเซียน มีจุดเด่นด้านการทำธุรกิจระหว่างประเทศ โดยสามารถให้การสนับสนุนแก่บริษัทที่ต้องการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ และ สำหรับบริษัทจากต่างประเทศที่ต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย สำหรับลูกค้าองค์กรต่างชาติในประเทศไทยนั้นบริการทางการเงินที่ครอบคลุมของธนาคารฯจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี.